ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ที่มางานประเพณีชักพระ (ลากพระ) เดือน ๑๑ | ตัวอย่างงานจาก อบต.ท่าข้าม หาดใหญ่ [ท่านางข้าม]

 หากพูดถึงประเพณีชักพระ หรือลากพระ ซึ่งเป็นพระเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานของทางภาคใต้ของประเทศไทย (จะพบประเพณีนี้เป็นส่วนใหญ่)


เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาจนครบ 3 เดือน ก็ถึงเวลาออกพรรษา (วันขึ้น 15 เดือน 11) หลังจากวันนี้อีก 1 วัน ก็จะเป็นการตักบาตรเทโว (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) และทางภาคใต้ของประเทศไทยก็จะมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ ประเพณีการชักพระ หรือการลากพระ โดยประเพณีการชักพระนั้น ได้ถือสืบต่อกันมายาวนานกันตั้งแต่สมัยอดีต ซึ่งจะพบมากในภาคใต้ของประเทศไทย จนเรียกได้ว่าเป็นประเพณีพื้นถิ่นประจำภาคใต้ โดยประเพณีนี้ได้เป็นการจำลองการรับเสด็จพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนเรือพระที่ตกแต่งอย่างสวยงาม แล้วลากไปรอบเมืองหรือรอบหมู่บ้าน โดยมีชาวบ้านมาร่วมกันแห่ชักพระหรือลากพระกันเป็นจำนวนมาก

ซึ่งการชักพระนั้นจะมีทั้งทางบก และทางน้ำ แล้วแต่ภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ที่จะจัดกิจกรรมดังกล่าวนั่นเอง

สำหรับทางตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลานั้น ได้มีหน่วยงานราชการเข้ามาสนับสนุน คือ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม (อบต.ท่าข้าม) ได้จัดให้มีการประกวดขบวนเรือพระ (ประกวดเฉพาะขบวน แต่ไม่มีการประกวดเรือพระ เนื่องจากเรือพระจะต้องใช้งบประมาณเยอะเกินไปสำหรับท่าข้ามที่เป็นชุมชนตำบลไม่ใหญ่มาก) โดยเรือพระแต่ละวัด/สำนักสงฆ์ จะลากมารวมกัน ณ ที่ทำการ อบต.ท่าข้าม

นอกเหนือจากนี้จะมีการประกวดแข่งขันกิจกรรมพื้นบ้าน ได้แก่ การแข่งขันขูดมะพร้าวด้วยเหล็กขูด (กระต่ายขูดมะพร้าว) การแข่งขันแทงต้ม (การทำขนมต้ม) การแข่งขันตีกลองเรือพระ โดยมีผู้ที่เข้าร่วมทั้งผู้ใหญ่ และเยาวชน

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อดำรงไว้ซึ่งประเพณีท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ให้ลูกหลานได้เห็นคุณค่าและสืบต่อกันไป



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำเดือน

เนื้อเพลง "เมาคลีล่าสัตว์" หรือ "เมาคลีด๊านซ์" (มีคลิปล้อเลียน + คลิปต้นฉบับ)

จากกระแสดังในโลกโซเชียล เพลงลูกเสือ เมาคลีล่าสัตว์ วันนี้ทาง Blog จึงยกเอาเนื้อเพลง และคลิปล้อเลียนมาฝากกันครับ...

คลิปบันทึกรำวงย้อนยุคในงานวัฒนธรรมเดือน ๕ (งานลากพระเดือน ๕) ประจำปี ๒๕๖๗ อบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

 การประกวดรำวงย้อนยุคของชุมชนตำบลท่าข้าม ทั้ง ๘ หมู่บ้าน และอีก ๑ ชุมชน (รวม ๙ ทีม) โดยแต่ละทีมจะมี ๓ เพลง (๓ จังหวะ) ได้แก่ ตะลุง รำวง และชะชะช่า