ณ โรงเรียนเย็นตีนวิทยาลัย และวันนี้ก็เป็นวันศุกร์ ก่อนถึงวันเด็ก 1 วัน (วันเด็กจะตรงกับวันเสาร์ของสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี)
คุณครูได้ให้นักเรียนแต่งคำกลอน หรือคำขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ และนี่คือสิ่งที่นักเรียนแต่งออกมาครับ
คุณครู: "เอาล่ะนะนักเรียนที่รักของครู เนื่องจากวันนี้ทางโรงเรียนของเราได้จัดกิจกรรมวันเด็ก และแน่นอนว่าในคาบวิชาภาษาไทยของครูวันนี้ ครูจะให้พวกเธอทุกคนแต่งคำกลอนนะลูกนะ แล้วออกมาท่องคำกลอนหรือคำขวัญที่พวกเธอแต่งขึ้นหน้าชั้นเรียน ให้เพื่อน ๆ ได้ฟังด้วยครับ เอาล่ะเริ่มเลย"
ครูได้ให้เวลานักเรียนแต่งคำกลอนอยู่พักนึง เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 30 นาที คุณครูจึงแจ้งให้นักเรียนเตรียมพร้อมที่จะนำเสนอคำขวัญที่ได้แต่งขึ้น
ด.ญ.ขมิบศรี: "วันเอ๋ยวันเด็ก พวกหนูยังเล็ก วันเด็กฟรุ้งฟริ้ง กุ๊งกิ๊งวันเด็ก"
คุณครู: "เอ่อ.. จะบอกว่าไงดี มันมีความหมายด้วยเหรอ กรรม! คนต่อไปครับ"
ด.ช.คันพวง: "เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ ถ้าเด็ก [*อุบาทว์] ชาติอาจไม่เจริญ แต่ถ้าเด็กขาด ๆ เกิน ๆ ชาติก็อาจเจริญแบบฮวบ ๆ"
คุณครู: "หา.. คือ.. ครูว่า เอาคนอื่นต่อไปก่อนดีกว่า"
ด.ช.ดุ๊บดิ๊บ: "แรกก่อนตอนนั้นฉันยังตัวเล็ก ก็เพราะยังเด็กตัวเล็กน่ารัก เวลาเลยผ่านเนิ่นนานคนทัก เริ่มเห็นประจักษ์ไม่ยักกะโต ใคร ๆ สังเกตสาเหตุไม่โต [**โอ้โฮ] หายโง่ ไอยะ ปัดโธ่ เพื่อน ๆ รุมล้อด่าทอมากโข ต้นเหตุไม่โต ปัดโธ่ กูเตี้ย"
คุณครู: "ง่ะ! คือเอ่อ... หลังจากที่ครูได้ฟังคำกลอนของพวกเธอแล้วนะลูกนะ ประเทศชาติเราคงเจริญแน่ ๆ เหอ เหอ เหอ 😁😁😁
จบเรื่องนี้ครับ
เรื่องนี้สร้างเพื่อความบันเทิงครับ เด็ก ๆ อย่าเอาคำกลอนแบบนี้ไปส่งคุณครูนะค้าบ
* หมายเหตุ คำว่า "อุบาทว์" มี ว. แหวน การันต์ เป็นคำกริยา แปลว่า อัปรีย์, จัญไร, ไม่เป็นมงคล
ส่วนคำว่า "อุบาท, อุปบาท" ไม่มี ว. แหวน การันต์ แปลว่า การบังเกิด, กำเนิด, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น พุทธุบาท (พุทธ + อุบาท), พุทธุปบาท (พุทธ + อุปบาท)
** หมายเหตุ คำว่า "โอ้โฮ" ที่เป็นคำอุทานที่เปล่งออกมาจากความตกใจหรือประหลาดใจ เป็นคำเขียนที่ถูกแล้ว แต่เราจะมักพบภาษาพูดกันบ่อย ๆ ว่า "โอ้โห" ซึ่งนี่อาจเป็นแค่ภาษาพูด แต่ตามหลักพจนานุกรมจริง ๆ ต้องใช้คำว่า "โอ้โฮ" ครับ
อ้างอิงจาก: พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น