ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ช่วยพูดให้ฉันมีอารมณ์ - มุกตลกสั้นขำขัน || อาจารย์ X

 หนุ่มน้อยเพิ่งแต่งงานใหม่ ๆ และค่ำคืนนี้ก็เป็นคืนแห่งการเข้าหอครั้งแรก และดูเหมือนว่าจะเป็นครั้งแรกในชีวิตของเขาซะด้วย ทำยังไงล่ะทีนี้ ฝ่ายเจ้าสาวผู้มีประสบการณ์ช่ำชองกว่าจึงต้องทำอะไรสักอย่าง...



"ไอย่ะ! เขินจัง วันนี้จะได้มีผัวอย่างเป็นทางการ คริ คริ" เจ้าสาวรำพึงรำพันในใจก่อนจะถึงเวลาเข้าห้องหอกับเจ้าบ่าว

น.ส.ปุก และนายดุ๊บดิ๊บ ได้ตกลงปลงใจแต่งงานกัน และค่ำคืนนี้ก็เป็นค่ำคืนแห่งการเข้าหอคืนแรก ทั้ง 2 อยู่ด้วยกัน 2 ต่อ 2 ในห้องหออันแสนโรแมนติก แต่ทว่า ฝ่ายเจ้าบ่าว นายดุ๊บดิ๊บ ดูเหมือนว่าจะค่อนข้างตื่นเต้นกว่าฝ่ายเจ้าสาวไปเยอะ จึงทำอะไรไม่ค่อยจะถูก ดูเก้ ๆ กัง ๆ ไปหมด น.ส.ปุก ฝ่ายเจ้าสาว ซึ่งดูท่าทางจะช่ำชองในเรื่องอย่างว่ามากกว่า

"พี่ดุ๊บดิ๊บ ไม่ต้องตื่นเต้นสิคะเวลาอยู่กับน้อง คริ คริ งั้น ๆ เริ่มจากชวนคุยก่อนก็ได้ ไหน ๆ พี่ช่วยพูดอะไรให้เค้ามีอารมณ์หน่อยสิคะ" เจ้าสาวปุกเป็นฝ่ายเริ่มชวนคุยก่อน

"อ่า... อีอ้วน! อีช้างน้ำ! ตีนกาบนใบหน้านี่ขึ้นเยอะแล้วนะ เอ่อ... อี..."

"เห้ย! หยุด! โอเคอารมณ์เริ่มมาแล้ว สัส!"

ท่านผู้อ่านคิดว่า เจ้าบ่าวจะรอดชีวิตผ่านคืนนี้ไปได้ไหมครับ ฮ่า ฮ่า ฮ่า

จบเรื่องนี้แล้วครับ
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คู่ชีวิตนั้น บางครั้งก็อาจจะมีคำพูดหยอกล้อกันบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็พึงระวังคำพูดบางอย่างที่อาจจะไปทำร้ายจิตใจของอีกฝ่ายได้ ดังนั้นจึงควรค่อย ๆ ปรับนิสัยเข้าหากันนะครับ เรื่องตลกและเรื่องราวอื่น ๆ อัพโหลดใหม่เรื่อย ๆ แล้วอย่าลืมกลับมาพบกันใหม่ที่ Blog อาจารย์ X นะค้าบ ขอบคุณครับ
(ดูคลิปอนิเมชั่นประกอบด้านล่าง)



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำเดือน

เนื้อเพลง "เมาคลีล่าสัตว์" หรือ "เมาคลีด๊านซ์" (มีคลิปล้อเลียน + คลิปต้นฉบับ)

จากกระแสดังในโลกโซเชียล เพลงลูกเสือ เมาคลีล่าสัตว์ วันนี้ทาง Blog จึงยกเอาเนื้อเพลง และคลิปล้อเลียนมาฝากกันครับ...

ที่มางานประเพณีชักพระ (ลากพระ) เดือน ๑๑ | ตัวอย่างงานจาก อบต.ท่าข้าม หาดใหญ่ [ท่านางข้าม]

 หากพูดถึงประเพณีชักพระ หรือลากพระ ซึ่งเป็นพระเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานของทางภาคใต้ของประเทศไทย (จะพบประเพณีนี้เป็นส่วนใหญ่)

คลิปบันทึกรำวงย้อนยุคในงานวัฒนธรรมเดือน ๕ (งานลากพระเดือน ๕) ประจำปี ๒๕๖๗ อบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

 การประกวดรำวงย้อนยุคของชุมชนตำบลท่าข้าม ทั้ง ๘ หมู่บ้าน และอีก ๑ ชุมชน (รวม ๙ ทีม) โดยแต่ละทีมจะมี ๓ เพลง (๓ จังหวะ) ได้แก่ ตะลุง รำวง และชะชะช่า