ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต | ที่แท้มันต่างกันแค่นิดเดียวสินะ ฮ่า ๆ || มุกตลกสั้น

 ณ โรงเรียน เย็นตีนวิทยาลัย กับห้องเรียนห้องหนึ่ง ในขณะที่คุณครูกำลังสอน และคุณครูก็ได้เริ่มถามนักเรียน...


คุณครู: "เอาละนะ นักเรียนที่น่ารักของครูทุกคน วันนี้นะครับ ขอให้นักเรียนลองยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตให้ครูฟังคนละอย่างครับ"


นักเรียนแต่ละคนจึงผลัดกันยกมือตอบคนละข้อ ดังนี้

ด.ช.สมทุย: "แม่วัวครับ"

ด.ช.กระบือศักดิ์: "ต้นกล้วยครับ"

ด.ญ.ปุก: "ตัวเหี้ยค่ะครู"

ด.ช.บุญถอก: "อีปุกครับครู" (เอาชื่อเพื่อนมาตอบครูเฉยเลย)


คุณครูได้ยินนักเรียนตอบออกมาแบบนี้ ในใจแอบคิดว่าทำไมบางคนถึงตอบได้แปลก ๆ แต่ก็ไม่ได้ว่ากล่าวนักเรียนแต่อย่างใด เพราะถือว่าอย่างน้อยเด็ก ๆ กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าพูด จึงได้เปลี่ยนคำถามใหม่ว่า...


คุณครู: "เอ่อ... นักเรียน งั้นต่อไปลองยกตัวอย่างสิ่งไม่มีชีวิตให้ครูฟัง ทีละคน หน่อยครับ"

ด.ช.สมทุย: "แม่วัวตายครับ"

ด.ช.กระบือศักดิ์: "ต้นกล้วยตายครับ"

ด.ญ.ปุก: "ตัวเหี้ยตายค่ะครู"

ด.ช.บุญถอก: "อีปุกตายครับครู"


พอคุณครูได้ยินแบบนี้จึงเริ่มรู้สึกว่า เด็กพวกนี้มีความคิดสร้างสรรค์ แต่คงต้องอบรมและขัดเกลากันอีกนิด ฮ่า ฮ่า ฮ่า


จบเรื่องนี้ครับ

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า บางครั้งเด็ก ๆ มักมีความคิดที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่อยู่เสมอ ซึ่งอาจเป็นเพราะเขาเคยเรียนรู้ หรือเคยรับรู้อะไรมาก่อน แล้วจึงมาสังเคราะห์เป็นแนวคิดของตัวเอง คุณครูอาจจำต้องช่วยปรับปรุงทักษะของเด็ก ๆ และคอยตักเตือนพวกเขา ให้แนวคิดนั้นได้ขัดเกลา เป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นครับ

แต่อย่าปล่อยให้เลยเถิดเหมือนเช่นในเรื่องนี้นะครับ ฮ่า ฮ่า ฮ่า



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำเดือน

เนื้อเพลง "เมาคลีล่าสัตว์" หรือ "เมาคลีด๊านซ์" (มีคลิปล้อเลียน + คลิปต้นฉบับ)

จากกระแสดังในโลกโซเชียล เพลงลูกเสือ เมาคลีล่าสัตว์ วันนี้ทาง Blog จึงยกเอาเนื้อเพลง และคลิปล้อเลียนมาฝากกันครับ...

ที่มางานประเพณีชักพระ (ลากพระ) เดือน ๑๑ | ตัวอย่างงานจาก อบต.ท่าข้าม หาดใหญ่ [ท่านางข้าม]

 หากพูดถึงประเพณีชักพระ หรือลากพระ ซึ่งเป็นพระเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานของทางภาคใต้ของประเทศไทย (จะพบประเพณีนี้เป็นส่วนใหญ่)

คลิปบันทึกรำวงย้อนยุคในงานวัฒนธรรมเดือน ๕ (งานลากพระเดือน ๕) ประจำปี ๒๕๖๗ อบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

 การประกวดรำวงย้อนยุคของชุมชนตำบลท่าข้าม ทั้ง ๘ หมู่บ้าน และอีก ๑ ชุมชน (รวม ๙ ทีม) โดยแต่ละทีมจะมี ๓ เพลง (๓ จังหวะ) ได้แก่ ตะลุง รำวง และชะชะช่า